ภาษาและนวัตกรรม 
นวัตกรรม
คำว่านวัตกรรมมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Innovation” โดยมีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ             นว +อตต+กรรม  ทั้งนี้ คำว่า นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรมแปลว่าการกระทำ เมื่อรวมเป็นคำว่านวัตกรรม ตามรากศัพท์หมายถึง การกระทำที่ใหม่ของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยามของ       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2549) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้ว่า นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
 ดังนั้นน่าจะสรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ที่กระทำซึ่งเกิดจากการใช้ความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์  สิ่งใหม่ในที่นี้อาจจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด หรือกระบวนการ  ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา
 องค์ประกอบของนวัตกรรม   ประกอบด้วย
1.ความใหม่ ใหม่ในที่นี้คือ สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน  เคยทำมาแล้วในอดึตแต่นำมารื้อฟื้นใหม่ หรือเป็นสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
2.ใช้ความรู้หรือความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา   นวัตกรรมต้องเกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างและพัฒนา ไม่ใช่เกิดจากการลอกเลียนแบบ หรือการทำซ้ำ
3.มีประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ ถ้าในทางธุรกิจต้องมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม
4.นวัตกรรมมีโอกาสในการพัฒนาต่อได้
ที่มา:/www.gotoknow.org/posts/492060

นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย
นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยในอดีตใช้คำว่า นวกรรม ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษว่า “Innovation” หมายถึง สิ่งใหม่หรือการเปลี่ยนแปลง คำว่า นวัตกรรม จึงมีนักการศึกษาบางกลุ่มใช้คำว่า นวกรรม ดังนั้น คำว่า นวกรรมและนวัตกรรมทั้งสองคำนี้จึงใช้ในความหมายเดียวกัน คือ การกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา
ดังนั้น นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย จึงหมายถึง การนำแนวคิดและวิธีการหรือการกระทำใหม่ ๆ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน
ที่มา  seemalanonech.wordpress.com/2012/12/20/นวัตกรรมทางการศึกษาปฐม/

การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง
การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่ ผู้เรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อผู้เรียนเหล่านั้น การประเมินจากสภาพจริงจะไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของนักเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริงในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นพบ ผลิตความรู้ และได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อสนองจุดประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของสังคม การประเมินผลจากสภาพที่แท้จริงจะ แตกต่างจากการประเมินผลการเรียนหรือการประเมินเพื่อรับรองผลงาน เพราะเน้นการให้ความสำคัญกับพัฒนาการและความต้องการช่วยเหลือและการประสบความสำเร็จของผู้เรียนแต่ละคน มากกว่าการประเมินผลการเรียนที่มุ่งการให้คะแนนผลผลิตและจัดลำดับที่ แล้วเปรียบเทียบกับกลุ่ม เนื่องจากจะวัดผลโดยตรงในสภาพการแสดงออกจริงๆ ในเนื้อหาวิชา ซึ่งการทดสอบด้วยข้อสอบจะวัดได้เฉพาะความรู้และทักษะบางส่วนและเป็นการวัดโดยอ้อมเท่านั้น นอกจากนี้ การประเมินผลจากสภาพที่เป็นจริงจะมีความต่อเนื่องในการให้ข้อมูลในเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล
กลุ่มและทีม
          "กลุ่ม" (Group) คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อใดที่มีการรวมตัวกัน กลุ่มย่อมเกิดขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่การรวมตัวกันเกิดจากความเหมือนกันในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจ อุปนิสัย หรือด้วยเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการรวมตัวกัน อาจมีเป้าหมายเฉพาะหรือไม่มีก็ได้
"ทีม" (Team) คือ การรวมตัวตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ผูกพันกัน มีจุดมุ่งหมาย เป้าหมายเดียวกันและต้องเป็นเป้าหมายที่เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ (ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ หากเป้าหมายนั้นไม่สร้างสรรค์ เช่น การรวมตัวของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อก่ออาชญากรรม เราไม่ถือว่าเป็นทีม แต่เป็นกลุ่มคน นั่นเพราะแม้มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน วุ่นวายแก่สังคมส่วน
ที่มา: http://www.phanrakwork.com/content


ความหมายของภาษา
ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
           ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
1. วัจนภาษา เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น
ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

ที่มา: https://nungruatai11.wordpress.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งานชิ้นที่ 2

แฟ้มสะสมงาน